นวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความหมายของนวัตกรรม

นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Innovation Technology)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (innovation) คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” และหมายรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการมาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต หรือบริการใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรมที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดประโยชน์ สาธารณะในรูปแบบของการเกิดธุรกิจ การลงทุน ผู้ประกอบการ หรือตลาดใหม่่หรือรายได้แหล่งใหม่ รวมทั้งการจ้างงานใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นกระบวนการที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาผนวก กับความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจนวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ อันจะนำไปสู่การลงทุนใหม่ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ

ดร.เศรษฐชัย ชัยสนิท (2553) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการการพัฒนาต่อยอด การเปลี่ยนแปลง การประยุกต์หรือกระบวนการ และในหลายสาขา เชื่อกันตรงกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความใหม่อย่างเห็นได้ชัด และความใหม่นั้นจะต้องเพิ่มมูลค่าสิ่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยเป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

อัจฉรา  ส้มเขียวหวาน (2549)  ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า  นวัตกรรมคือ  ความ คิดหรือการปฏิบัติใหม่ๆที่ผิดแปลกไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมาทั้งหมดหรือการ เปลี่ยนแปลงบางส่วนจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมาก่อนที่เกิดจากกระบวนการวิจัยที่ ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน เพื่อจะนำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพ สูงยิ่งขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (2546)  นวัตกรรม  (Innovation)  หมายถึง  วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาใช้  ซึ่งไม่เคยใช้ในหน่วยงานนั้นมาก่อน อาจเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้เป็นครั้งแรก  หรืออาจเป็นวิธีการใหม่ที่เคยใช้ในหน่วยงานอื่นมาก่อน

อำนวย  เดชชัยศรี  (2544)ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรมคือ  ความใหม่และทันสมัยซึ่งถูกคนพบโดยสิ่งนั้นไม่เคยมีมาก่อนในโลกนี้เพิ่งจะมีเป็นครั้งแรก  อีกประการหนึ่งสิ่งที่ถูกค้นพบถูกเก็บซ่อนไว้โดยยังไม่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เมื่อนำมาทดสอบหรือทดลองก็เป็นนวัตกรรม

กิดานันท์  มลิทอง (2540)  ได้ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

        Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือสิ่งใหม่  ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

Toffler  (2003) ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรม  เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือกล  และเทคนิคต่างๆ  ที่มี3ลักษณะประกอบกันได้แก่

1.       จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่  (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้  (feasible  idea)

2.       จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริง  (practical  application)

3.       มีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน (Distribution)

Thormas Hughes  (2003)  ให้ความหมายของนวัตกรรม (innovation)   ไว้ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติ  หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว  โดยเริ่มมาตั้งแต่การ

  1. 1. คิดค้น(invention)
  2. 2. การพัฒนา(development) หรือ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (pilot  project)
  3. 3. นำไปปฏิบัติจริง (implement)

โดย สรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและกระบวนการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้ ก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

ลักษณะของนวัตกรรม

  1. 1. นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง(Radical Innovation)
    หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริง สู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief ) เดิม ตลอดจนระบบคุณค่า(value system)ของสังคม อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร  การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลา และ สถานที่นั้น เปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ทเปิดโอกาส ให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร เปลี่ยนแปลงไป
  2. 2. นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
    เป็น ขบวนการการค้นพบ (discover) หรือ คิดค้นสิ่งใหม่(invent)โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ (new idea) หรือ ความรู้ใหม่ (new knowledge) ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยการประยุกต์ใช้ แนวคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ของมนุษย์ และการค้นค้น เทคนิค (technique) หรือ เทคโนโลยี (technology) ใหม่ นวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จึงมีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning) อยู่ในบริบท ของสังคมหนึ่ง ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะผลของขบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้สังคมมีลักษณะไร้ขอบเขต (borderless) เป็นสังคมของชาวโลกที่มีความหลากหลายทางด้านสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ส่งผลให้นวัตกรรม มีแนวโน้มที่จะเป็น ขบวนการค้นพบใหม่อย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ มากกว่า ที่จะเป็นนวัตกรรมใหม่โดยสิ้นเชิง สำหรับสังคมหนึ่ง ๆ

ประเภทของนวัตกรรม

  1. 1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation)
    คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่ง ใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้(tangible product) หรือสินค้าทั่วไปเช่นรถยนต์รุ่นใหม่, ทีวีที่ใช้เทคโนโลยีสูงหรือ‘High Definition TV(HDTV)’,  ดีวีดีหรือ‘Digital Video Disc(DVD)’ และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible product) อาทิ เช่น การบริการ (services) เช่น เพกเก็จทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, ธุรกรรมการเงิน-ธนาคารโดยผ่านทางโทรศัพท์ (telephone finance banking)เป็นต้น
  2. 2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
    เป็นการ เปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น  การผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ‘Just In Time (JIT)’  , การบริหารงานคุณภาพองค์กรรวมหรือ‘Total Quality Management (TQM)’, และ การผลิตแบบกระทัดรัดหรือ ‘ Lean Production ’ เป็นต้น

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม จาก ความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้ แตกต่างกัน แต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง

สถานะของนวัตกรรม
1. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น อาจเก่ามาจากที่อื่นและเหมาะที่จะนำมาปฏิบัติกับสถานที่นี้ใน สถานะการณ์ปัจจุบัน
2. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้ แต่ไม่ได้ผลและล้มเลิกไป เนื่องจากเกิดปัญหาต่าง ๆ และความไม่พร้อมในระยะนั้น แต่ในสภาพปัจจุบันความคิดหรือ การปฏิบัติใหม่นั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
3. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง และจะช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นถูกปฏิเสธมาครั้งหนึ่งแล้ว อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารไม่สนับสนุน หรือมีเจตคติ ิที่ไม่ดีต่อความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น ต่อมาผู้บริหารได้ เปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารใหม่ ทำให้ความคิดหรือการปฏิบัติ ใหม่นั้นได้รับการสนับสนุนนำมาใช้
5. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือปฏิบัติมาก่อน เป็นสิ่งที่ได้รับ การคิดค้นได้เป็นคนแรก

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
– การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– เครื่องสอน (Teaching Machine)
– การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
– เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
– ศูนย์การเรียน (Learning Center)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด เช่น
– การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
– มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
– มหาวิทยาลัยเปิด
– การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
– การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
– ชุดการเรียน

 

เทคโนโลยี
คำ ว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Technology” ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า “Technologia” แปลว่า การกระทำที่ระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่ง          พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ   วิทยาการ ที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทาง ปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ารานุกรมเอ็นคาร์ทา(Encarta1999)ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี(Technology)ไว้ว่าTechnologyเป็นคำที่มาจากภาษากรีก2คำรวมกัน คือTekhneหมายถึงศิลปหรืองานช่างฝีมือ(art of craft)และlogiaหมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา(art of study)ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้วเทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

พจนานุกรมเว็บสเทอร์(Websters1994)ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไว้ดังนี้1)ก.การใช้ทางวิทยาศาสร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข.องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้2)องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูนฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ

เดล(Dale 1969)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว

กัลเบรท(Galbraith1967)ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ

ครรชิต มาลัยวงศ์(2539)ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง

1.      องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

2.      การประยุกต์วิทยาศาสตร์

3.      วัสดุ เครื่องยนต์กลไกเครื่องมือ

4.      กรรมวิธีและวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์

5.      ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ

กล่าวอีกนัยหนึ่งเทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

   ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพ

              ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ

(สสวท, 2544) เทคโนโลยี (TECHNOLOGY) เป็นการนำความรู้ทักษะ และทรัพยากรทางเทคโนโลยี มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการโดยผ่านขบวนการเพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการหรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์

จากการที่มีผู้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษา ง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง

ลักษณะของเทคโนโลยี

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น3ลักษณะ คือ (Heinich,Molendaand Russell. 1993)

1.      เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ( process)เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

2.      เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต(product)หมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

3.      เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต(process and product)เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

การประยุคใช้เทคโนโลยี

การนำ เทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์, 2517) คือ

    1. 1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
    2. 2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
    3. 3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

ระดับของเทคโนโลยี

ระดับของเทคโนโลยีสามารถแบ่งตามความรู้ที่ใช้ได้เป็น _3_ _ระดับ _ดังนี้

1. เทคโนโลยีระดับพื้นฐาน (Basic Technology)

คือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ง่ายๆ ราคาไม่แพง หรือเป็นการนำเสนอวัสดุจากธรรมชาติมาใช้โดยตรง เช่นการนำไม้ไผ่มาทำที่พักอาศัย หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เคียวเกี่ยวข้าว เครื่องทอผ้า เป็นต้น ลักษณะแบบนี้เรียกว่า ” ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ลักษณะงานเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้วิศวกรที่มีความรู้มาออกแบบจะใช้ประสบการณ์ หรือประมาณจากการประสบการณ์ของตนเอง

 

การเกี่ยวข้าวโดยใช้แรงงานคนเป็นเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน

2. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)

เป็นการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน มีการคำนวณและมีการวางเเผนในการทำงานล่วงหน้าก่อนการทำงาน และผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องอุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้พอสมควรและผลิตภัณฑ์ผลิตออกมา ก็มีการใช้วัสดุสังเคราะห์มากขึ้น จากเกษตรพื้นบ้านเป็นเกษตรกรรมเมือง  เทคโนโลยีในระดับนี้ เช่น การใช้เครื่องจักรแทนคน  การใช้เครื่องทุ่นแรง การใช้สิ่งอานวยความสะดวกต่าง  ๆ  เป็นต้น

 

การเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องจักรทุ่นแรงเป็นเทคโนโลยีระดับกลาง

3. เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology)

เป็นงานที่ต้องอาศักความรู้ทางวิศวกรรม การศึกษา วิจัย และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านเฉพาะด้านขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ อาคารหรือตึกสูงๆ เครื่องบินโดยสาร ยานอวกาศ รถไฟความเร็วสูง รถแข่ง เป็นต้น งานเหล่านี้ต้องมีการคำนวณอย่างละเอียด มีการทดลองใช้งานเพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนการใช้งานจริง

 

หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีระดับสูง

 

สาขาของเทคโนโลยี

เทคโนโลยีเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ผู้ผลิตเทคโนโลยีมีจุดมุ่งหมายจะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ _จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีขึ้นหลายสาขา _ดังนี้

1_._เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และการผลิต _(_P_r_o_d_u_c_t_i_o_n_ _a_n_d_ _P_r_o_c_e_s_s_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _ใช้ในระบบการผลิต

2_._เทคโนโลยีการควบคุม _(_C_o_n_t_r_o_l_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _ใช้ควบคุมการบริหารจัดการต่างๆ

3_._เทคโนโลยีชีวภาพ _(_B_i_o_t_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _นามาใช้ทางการแพทย์ _ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม

4_._เทคโนโลยีการอาหาร _(_F_o_o_d_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _ใช้ในการถนอมอาหาร _การแปรรูปอาหาร _บรรจุภัณฑ์ _การจัดจาหน่ายอาหาร _และเพิ่มคุณค่าของอาหารตามหลักโภชนาการ

5_._เทคโนโลยีวัสดุ _(_M_a_t_e_r_i_a_l_s_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _เป็นเทคโนโลยีที่มีความสาคัญในการผลักดันความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก _เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์เน้นการพัฒนาวัสดุ _อุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะสูง _เช่น _การพัฒนาเซรามิกเพื่อใช้ในด้านอุตสาหกรรม _ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวนาและฉนวน _เป็นทั้งตัวระบายความร้อนและฉนวนความร้อน _และยังเป็นวัสดุที่ทนต่อการสึกหรอได้เป็นอย่างดี _เป็นต้น

6_._เทคโนโลยีทางการขนส่ง _(_T_r_a_n_s_p_o_r_t_a_t_i_o_n_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า _ทั้งทางบก _ทางเรือ _และทางอากาศ _เช่น _รถยนต์ _รถไฟฟ้า _เครื่องบิน _เรือ _เป็นต้น

7_._เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ _(_E_l_e_c_t_r_o_n_i_c_s_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการทางวิทยาศาสตร์สาหรับการออกแบบ _ผลิต _ติดตั้ง _ทดสอบ _บริการใช้สอยและควบคุมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ _เช่น _เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ _การสื่อสารด้วยระบบเลเซอร์ _หุ่นยนต์ _ซูปเปอร์คอนดักเตอร์ _เป็นต้น

8_._เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า _(_T_e_x_t_i_l_e_ _G_a_r_m_e_n_t_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์

9_._เทคโนโลยีสารสนเทศ _(_I_n_f_o_r_m_a_t_i_o_n_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประมวลผลข้อมูล _และนาเสนอข้อมูล

1_0_._เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร _(_I_n_f_o_r_m_a_t_i_o_n_ _a_n_d_ _C_o_m_m_u_n_i_c_a_t_i_o_n_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสาร

1_1_._เทคโนโลยีการเกษตร _(_A_g_r_i_c_u_l_t_u_r_a_l_ _T_e_c_h_n_o_l_o_g_y_)_ _คือ _ความรู้ _วิทยาการ _เทคนิค _วิธีการเครื่องจักรกลที่เกษตรกรนามาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร _เช่น _เทคโนโลยีในการเพาะปลูก _การขยายพันธุ์พืช _การใส่ปุ๋ย _การกาจัดศัตรูพืช _รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ _เทคโนโลยีการเกษตรจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเทคโนโลยีอื่น _ๆ _เช่น _เทคโนโลยีอาหาร _เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร _เทคโนโลยีชีวภาพ _เป็นต้น

ลักษณะของเทคโนโลยี

จากสาขาของเทคโนโลยีดังกล่าวหากจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็น _2_ _กลุ่ม _ดังนี้

1_._เทคโนโลยีที่เป็นการสร้าง _เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์ใช้สร้างสิ่งของ _เครื่องมือ _เครื่องใช้ต่างๆ _โดยใช้ความรู้ _ทักษะ _และประสบการณ์ _เพื่อใช้พัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

2_._เทคโนโลยีที่เป็นวิธีการ _เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์ได้เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการทางาน _เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้ได้รับความสะดวกสบาย _มีชีวิตที่ง่ายขึ้น

 

ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

 

สุมิตา  บุญวาส  (2546)  ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการใหม่ๆ  หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  ส่วน  เทคโนโลยี  คือ  การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ  อย่างมีระบบ

 

อำนวย  เดชชัยศรี  (2544 )  ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์  ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์  ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ

 

อัจฉรา  ส้มเขียวหวาน  (2006)  ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด  แนวปฏิบัติ  หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็น

แนวปฏิบัติ

2.       นวัตกรรม อยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

 

Leave a comment